วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555


โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง      สมุนไพรขจัดมนทิน


จัดทำโดย
นางสาวกัญญตา          บุญยืด
นางสาวเบญจมาภรณ์  จันทร์ทอง

บทคัดย่อ  
จากการศึกษาการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสมุนไพรขจัดมนทินผลการดำเนินการพบว่า
1.             มะนาวสามารถขจัดคราบสกปรกบนเสื้อผ้าได้ดี
2.             ตะไคร้สามารถสกปรกบนเสื้อผ้าได้
3.             ว่านหางจระเข้สามารถขจัดคราบสกปรกบนเสื้อผ้าได้
สมุนไพรที่ได้กล่าวมาสามารถหาได้ตามท้องถิ่น การนำเอาสมุนไพรมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ขจัดรอยเปื้อนโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย


กิตติกรรมประกาศ
                การศึกษาค้นคว้าการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในวิชาชีวิตกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเรื่องสมุนไพรขจัดมนทินในครั้งนี้ได้สำเร็จได้ด้วยดี คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ศักดิ์ชัย  ไชยรักษ์ ที่ได้ให้คำปรึกษา ชี้แนะแนวทางในการทำโครงงานในครั้งนี้ขอขอบพระคุณบิดา-มารดาที่ให้การสนับสนุน จนโครงงานนี้สำเร็จได้และขอขอบคุณ เพื่อน ๆ ทุกคนที่คอยให้กำลังใจและคำปรึกษาที่ดีตลอดมา
                คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาค้นคว้าการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง สมุนไพรขจัดมนทิน ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
                          

                                                                                           คณะผู้จัดทำ
                                                                                       29 กันยายน 2553


บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
                ในชีวิตประจำวันของการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน มักเจอรอยเปื้อนต่างๆ มากมาย ทั้งรอยเปื้อนที่ทำความสะอาดยากและรอยเปื้อนที่ทำความสะอาดง่ายจึงทำให้การทำความสะอาดในแต่ละครั้งต้องเสียเวลานาน อีกทั้งในการทำความสะอาดแต่ละครั้งในปัจจุบันยังใช้สารเคมีในการขจัดรอยเปื้อน ซึ่งเป็นการทำลายผ้าเนื้อดี และสภาพเนื้อผ้าไม่สวยเหมือนเดิม   ดังนั้นคณะจัดทำจึงได้คิดค้นวิธีในการทำสมุนไพรมาเป็นส่วนผสมของการทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครั้งนี้ขึ้น เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในอีกด้านนึงของสมุนไพร โดยทางคณะจัดทำได้ทำสมุนไพรมาเป็นส่วนผสมในการขจัดรอยเปื้อนต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราเช่น เสื้อผ้า กระจก เตารีด พรมเช็ดเท้า ซึ่งสมุนไพรที่ทางคณะจัดทำนำมาทำผลิตภัณฑ์ขจัดคราบในครั้งนี้ ได้แก่ มะนาว ตะไคร้ และว่านหางจระเข้ เพราะสมุนไพรเหล่านี้สามารถที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นของพวกเรา  ทั้งนี้การนำสมุนไพรมาทำผลิตภัณฑ์ขจัดคราบก็ยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเราได้ ทางคณะจัดทำจึงสนใจอยากจะทดลองนำเอาสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นนำมาขจัดคราบต่างๆดังนั้นกลุ่มของดิฉันจึงคิดค้นสมุนไพรขจัดมนทินขึ้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการขจัดรอยเปื้อนต่างๆให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และคงสภาพเนื้อผ้าที่สวยงาม
ดังนั้นกลุ่มของดิฉันจึงคิดค้นสมุนไพรขจัดมนทินขึ้น เพื่อเป็นตัวช่วยในการขจัดรอยเปื้อนต่างๆให้ง่ายต่อการทำความสะอาดและคงสภาพเนื้อผ้าที่สวยงาม

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาว่า มะนาว ตะไคร้ และว่านหางจระเข้ สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการทำผลิตภัณฑ์ได้
2. เพื่อนำมะนาว ตะไคร้ และว่านหางจระเข้ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากชึ้น
3. เพื่อศึกษาว่ามะนาว ตะไคร้ และว่านหางจระเข้ ที่นำมาทดลองสามารถขจัดรอยเปื้อนต่างๆได้จริง
สมมติฐาน 
1. มะนาวสามารถนำมาขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
2. ตะไคร้สามารถนำมาขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
4. ว่านหางจระเข้สามารถนำมาขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้
5. มะนาวสามารถนำมาขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้ดีกว่าตะไคร้และตะไคร้สามารถนำมาขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้ดีกว่าว่านหางจระเข้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ความรู้เพิ่มเติมและรู้จักคุณประโยชน์ของสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ มะนาว ตระไคร้และว่านหางจระเข้
2. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4. สามารถนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์ขจัดคราบเพราะสามารถผลิตเองได้
ขอบเขตการศึกษา 
การศึกษาการทำสมุนไพรขจัดมนทิน ว่าเมื่อนำมาขจัดรอยเปื้อนต่างๆ จะได้ผลดี
ตัวแปรต้น
-          มะนาว
-          ตะใคร้
-          ว่านหางจระเข้
ตัวแปรตาม
-          ขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า
-          ขจัดรอยเปื้อนบนพรมเช็ดเท้า
-          ขจัดรอยเปื้อนบนหน้าเตารีด
-          ขจัดรอยเปื้อนบนกระจก
-          ขจัดรอยเปื้อนบนฝาผนัง
ตัวแปรควบคุม
-          ปริมาณสาร
-          ปริมาณของน้ำมะนาว ตะไคร้ และว่านหางจระเข้


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
มะนาว 
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Citrus aurantifolia (Christm) Swing.
ชื่อสามัญ  (Common Name):  Lime
ชื่อพฤกษศาสตร์  (Scientific Name):  Citrus aurantitolia,Sevingle
ชื่อวงศ์  (Family Name):  Rutaceae
ชื่ออื่นๆ  (Other Name):ภาคเหนือ: บะนาว
                                   ภาคใต้: ส้มนาว
                                   ภาคอีสาน:หมักนาว
ลักษณะทั่วไป 
              มะนาวเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่  ต้นสูงประมาณ 3-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวคล้ายใบส้ม ใบหนาแข็ง
สีเขียวเข้ม ดอกสีขาวอมเหลือง กลีบหนาแข็ง ผลกลมเกลี้ยง ผิวมีต่อมน้ำมัน 
การขยายพันธุ์  
       ใช้กิ่งตอน
การปลูก
นิยมปลูกด้วยกิ่งตอน มะนาวขึ้นได้ดีกับดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี ควร ปลูกในฤดูฝน วิธีการปลูก ใช้กิ่งตอนปลูกในหลุม ใช้ปุ๋ยหมักรองเอาไว้หนึ่งก้อน จะต้องรดน้ำทุกวัน ถ้าฝนไม่ตกควรหาอะไรมาบังเป็นร่มเอาไว้ก่อนที่ต้นจะแข็งแรงดี
รสและสรรพคุณยาไทย 
เปลือกผล รสขม ช่วยขับลมได้ดี น้ำของผลมะนาวเปรี้ยวจัด เป็นยาขับเสมหะ  ใช้มะนาวผสมกับดินสอพองพอกบริเวณที่เป็นจะทำให้เย็นและยุบเร็ว บรรเทาอาการท้องอืด ระงับการกระหายน้ำของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
น้ำมะนาว รักษาอาการไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยย่อยอาหาร
เมล็ด คั่วผสมเป็นยากวาด แก้ร้อนใน
ราก เป็นยาถอนพิษสำแดง ไข้กลับ หรือไข้ซ้ำ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ 
ผิวเปลือกของมะนาวมีน้ำมันหอมระเหย "โวลาทิล" เช่น Slaronoid,Organic acid, citral       และวิตามินซี น้ำมะนาวมีฤทธิ์รักษา โรคลักปิดลักเปิด เนื่องจากมีวิตามินซี สูง สวนฤทธิ์ในการแก้ไอขับเสมหะ เนื่องจากกรดที่มีอยู่ในน้ำมะนาว กระตุ้นให้มีการขับน้ำลายออกมา ทำให้เกิดการชุ่มคอจึงลดอาการไอลงได้
คุณค่าทางอาหาร
                มะนาวเป็นเครื่องปรุงรสอาหารไทยที่ขาดเสียไม่ได้ น้ำพริก ส้มตำ ยำทุกชนิด ลาบและอีกมากมายหลายอย่างจะต้องใช้มะนาวปรุงรสเสมอ จึงจะเกิดรสดี อร่อยสุดๆ นำมะนาวมาคั้นเป็นน้ำมะนาวจะได้น้ำมะนาวเข้มข้น ปรุงรสดื่มช่วย ให้ร่างกายมีความรู้สึกว่าสดชื่นยิ่งขึ้น แก้ไอขับเสมหะได้ดีมากที่เดียว ประโยชน์ของน้ำมะนาวที่รู้จักกันดีคือมีวิตามิน ซี สูงมาก รักษาโรคเลือดออกตามลายฟัน แต่วิตามินซีจะละลายตัวง่ายในความร้อน จึงต้องระมัดระวังในการปรุงอาหาร
ตะไคร้
 ชื่อวิทยาศาสตร์Cymbopogon citratus Stapf
วงศ์  (Family Name): GRAMINEAE 
ชื่ออื่นๆ  (Other Name): ภาคเหนือ: จะไค (Cha-khai) จะไค้ (Cha-khai)
                                    ภาคใต้: ไคร (Khrai)
                                    ชวา: ซีเร (Sere)
ถิ่นกำเนิด                       อินโดนีเซีย  ศรีลังกา  พม่า  อินเดีย  อเมริกาใต้  ไทย
รูปลักษณะ 
            ไม้ล้มลุกทีมีอายุได้หลายปี  ชอบดินร่วนซุย  ปลูกได้  ตลอดปี  ใบสีเขียวยาวแหลม ดอกฟูสีขาว  หัวโตขึ้น จากดินเป็นกอๆ  กลิ่นหอมฉุนค่อนข้างร้อน
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
น้ำมันจากใบและต้น  – แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม แก้กระหาย แก้ร้อนใน
ลำต้นแก่หรือเหง้า     – แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ขับประจำเดือน
สรรพคุณทางยา 
1. บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรคบำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว
2. ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ
ลักษณะโดยทั่วไป
โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1.             ตะไคร้กอ
2.             ตะไคร้ต้น
3.             ตะไคร้หางนาค
4.             ตะไคร้น้ำ
5.             ตะไคร้หางสิงห์
6.             ตะไคร้หอม
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
ว่านหางจระเข้ 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera L.
ชื่อพ้อง : Aloe indica Royle, Aloe barbadensis Mill.
ชื่อสามัญ  (Common Name): ว่านไฟไหม้ ว่านหางจระเข้ หางตะเข้ (Aloe, Barbados aloe, Crocodile's tongue,Indian aloe, Jafferabad, Mediterranian aloe, Star cactus, True aloe)
ชื่อวงศ์  (Family Name): Aloaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร  ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว  เรียงรอบต้น กว้าง  5-12  ซม.            ยาว  30-80 ซม. อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อน หรือเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยาง สีเหลือง ใบอ่อนมีสีขาว  ดอกช่อ   ออกจากกลางต้น  ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ ว่านหางจระเข้ที่ปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นชนิด Aloe vera Lin. var. chinensis (Haw) Berg.
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ 
วุ้นจากใบ ยางสีเหลืองจากใบ
สรรพคุณ 
วุ้นจากใบ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น
การปลูก 
ว่านหางจระเข้ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีในบริเวณทะเลที่เป็นดินทราย และมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ดี จะปลูกเอาไว้ในกระถางก็ได้ ในแปลงปลูกก็ได้ ปลูกห่างกันสัก 1-2 ศอก เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำดีพอ มิฉะนั้นจะทำให้รากเน่าและตาย ว่านหางจระเข้ชอบแดดเรไร     ถ้าถูกแดดจัดใบจะเป็นสีน้ำตาลแดง
ส่วนที่ใชัเป็นยา 
วุ้นจากใบ


บทที่  3
วิธีดำเนินการโครงงาน

อุปกรณ์   และวิธีการดำเนินงาน
สถานที่ทำการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วัสดุส่วนผสม 
1. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (ผงฟู)
2. แคลเซียมคาร์บอเนต (ผงชอล์ก)
3. มะนาว
4. ตะไคร้
5. ว่านหางจระเข้
6. กลีเซอรีน
7. น้ำมันเปเปอร์มินท์
8. ผงฟอง
อุปกรณ์ในการทำ 
1. กะละมัง
2. ไม้พาย
ขั้นตอนในการทำสมุนไพรขจัดมนทิน 
1. ผสมแคลเซียมคาร์บอเนต ผงฟู ผงฟอง และน้ำมะนาว (ตะไคร้/ว่านหางจระเข้) ลงในกะละมังแล้วคนให้เข้ากัน
                                 
2. เติมกลีเซอรีน ลงในกะละมังที่ผสมแล้ว เติมน้ำพอประมาณ คนจนเข้ากันดี
                                 
3. หยดน้ำมันเปเปอร์มินท์ ลงในส่วนผสมที่คนเข้ากันแล้ว
                                 
4. ตักใส่ภาชนะที่มีฝาปิด
                                 
5. นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน



บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการจัดทำโครงงาน

 จากผลการทดลอง  สรุปได้ว่า
ถ้าเอาครีมที่ผสมมะนาวมา 1 ช้อนโต๊ะขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้า  โดยนำครีมถูตรงบริเวณที่เปื้อนแล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วซักกับผงซักฟอกธรรมดา  คราบรอยเปื้อนนั้นก็จะหลุดออกไปอย่างง่ายดาย แต่ถ้าใช้ครีมที่ผสมตะไคร้มาขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าใช้ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ  โดยนำครีมถูตรงบริเวณที่เปื้อนแล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วซักกับผงซักฟอกธรรมดา  ครีมนี้ก็จะได้ผลดีน้อยกว่าครีมที่มีส่วนผสมมะนาวและว่านหางจระเข้แต่ก็จะให้กลิ่นหอมจากตะไคร้และสามารถจะลดกลิ่นคาวที่ติดเสื้อผ้าได้ส่วนครีมที่ผสมว่านหางจระเข้นำมา ขจัดรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าประมาณ   1 ช้อนโต๊ะ  โดยนำครีมถูตรงบริเวณที่เปื้อนแล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วซักกับผงซักฟอกธรรมดา  ครีมนี้ก็จะได้ผลดีน้อยกว่าครีมที่มีส่วนผสมของมะนาวแต่ครีมที่ผสมว่านหางจระเข้จะให้คุณสมบัติในการถนอมเนื้อผ้าได้ดีกว่า


บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผลการดำเนินการจัดทำโครงงาน
สรุป  อภิปราย  และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่อง  สมุนไพรขจัดมนทิน  ผลการศึกษาพบว่า
1.มะนาวสามารถนำมาขจัดรอยเปื้อนต่างๆ ได้ผลดีกว่าตะไคร้และว่านหางจระเข้
2.ว่านหางจระเข้สามารถนำมาขจัดรอยเปื้อนต่างๆ ได้ผลดีรองลงมาจากมะนาวแต่ดีกว่าตะไคร้
3.สมุนไพรแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่ดีแตกต่างกัน เช่น
สูตรมะนาว ขจัดคราบได้ดี
สูตรตะใคร้ ลดกลิ่นคาวได้
สูตรว่างหางจระเข้ ช่วยถนอมเนื้อผ้าและพื้นผิววัตถุ
อภิปราย   การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์                                           
เรื่อง สมุนไพรขจัดมนทิน  คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมว่า
1.สมุนไพรขจัดมนทิน นำไปขจัดรอยเปื้อน จะได้ผลดี ไม่เป็นอันตรายต่อการใช้ 
2.สมุนไพรที่ใช้เมื่อนำไปผสมกับส่วนผสมแล้ว จะมีการตกตะกอน
ข้อเสนอแนะ
                สามารถนำเอาสมุนไพรชนิดอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ได้อีก ตามท้องถิ่นที่มี และสามารถหาได้ตามท้องถิ่นนั้นๆ

บรรณานุกรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น